รับทำเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก

35boredpile เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก วัสดุที่ใช้คุณภาพสูง เหล็ก sd40 ติดต่อ 086-610-6000, ความรู้เสาเข็มเจาะ, เข็มเจาะแห้ง,เสาเข็มแบบเจาะ,เจาะเสาเข็ม,รับทำเสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ,เข็มเจาะ,ราคาเสาเข็มเจาะ,เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก,เสาเข็มเจาะแ

บริษัทรับทําเสาเข็มเจาะ

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์  เสาเข็มเจาะ ในปัจจุบัน งานเสาเข็มเจาะในงานฐานรากนั้นได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากเสาเข็มเจาะ ตอบสนองความต้องการของวิศวกรผู้ออกแบบได้อย่างมาก และเนื่องด้วยเหตุนี้เอง ทำให้บริษัทเสาเข็มเจาะหรือรายย่อยอื่นๆ ที่ไม่มีความรู้ หรือประสบการณ์ด้านเสาเข็มเจาะระบบแห้ง อย่างเเท้จริง ผุดขึ้นจำนวนมากในวงการก่อสร้าง ทางเราได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบนี้ จึงได้รวมกลุ่มวิศวกร และผู้มีประสบการณ์เข้าใจวิธีทำเสาเข็มเจาะ ด้านเสาเข็มเจาะเเท้จริง ได้ก่อตั้ง บริษัท รับทำเสาเข็มเจาะขึ้น จนกระทั้งปัจจุบันได้เป็นที่ ยอมรับในวงการก่อสร้างและเสาเข็มเจาะ เราคือบริษัทผู้นําเสาเข็มเจาะ ที่สามารถทำงาน ได้ตามคุณภาพและมาตรฐาน รวดเร็ว ราคา ย่อมเยาว์ และเป็นธรรม

เสาเข็มเจาะ,เข็มเจาะ,รับทำเสาเข็มเจาะ,รับเจาะเสาเข็ม

งานบริการของเรา

– รับทำเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35-40-50-60 ซม. ระบบแห้ง โดยระบบสามขา
– รับเจาะสำรวจชั้นดิน พร้อมรายการคำนวณน้ำหนัก
– รับวางผัง
– รับทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Siesmic Test) โดยวิศวะกรผู้เชี่ยวชาญ
– รับงานทั่วประเทศ
– ยินดีให้ข้อมูลและรับปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับงานเข็มเจาะ
– รับประเมินราคาเข็มเจาะโดยไม่เสียค่าใช่จ่ายใดๆ

**ควบคุมงานเข็มเจาะโดนวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและทีมงานผู้ชำนาญงานมากกว่า 20 ปี**

ปรัชญาการทำธุรกิจของเรา

  • ทำธุรกิจโดยใช้คุณธรรม
  • ทำธุรกิจโดยเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  • เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่ดี
  • มีเป้าหมายในการทำงานอย่างชัดเจนและมีระบบ
  • มีความตั้งใจที่จะทำให้ทุกคนในทีมประสพความสำเร็จ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ไม่โจมตีบริษัทอื่นหรือธุรกิจอื่นๆ
  • มองโลกในแง่บวก และมีทัศนคติที่ดีกับทุกเรื่อง
  • ไม่นำเสนอสินค้าหรือผลประโยชน์ของธุรกิจเกินจริง
  • ทำงานอยู่บนปรัชญาเดียวกัน

ข้อดีเสาเข็มเเบบเจาะ

  • สามารถลดการสั่นสะเทือน
  • ใช้พื้นที่น้อยในการทำงาน
  • รับน้ำหนักได้ดี
  • เหมาะกับงานทุกชนิด
  • ลดเวลาการก่อสร้าง
  • ลดปัญหามลพิษ

ข้อเสียเสาเข็มเเบบตอก

  • เกิดแรงสั่นสะเทือน
  • ใช้พื้นที่กว้าง
  • เสียงดัง
  • เกิดผลกระทบกับอาคารไกล้เคียง
  • มีข้อกําจัดในบางอาคาร

 สอบถามราคาและรายละเอียดเสาเข็มเจาะได้     สำรวจหน้างานฟรี ! คลิ๊ก !

คุณ สมชาย คุณะเพิ่มศิริ  Tel: 086-610-6000

เสาเข็มเจาะ

ความรู้เสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ

ปลายเสาเข็มเจาะระบบแห้งอยู่ในชั้นทรายให้ผลดีจริงหรือ?
โดย คุณ ธเนศ วีระศิริ

“เสาเข็มเจาะเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซม. ความลึก 21 ม.หรือถึงชั้นทราย รับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย 60 ตัน/ต้น (FS=2)
” เสาเข็มเจาะเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 ซม. ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทรายที่ 22 ม. รับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย 70 ตัน/ต้น (FS=2.5)
” เสาเข็มเจาะเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ซม. ความลึก 19 ม.หรือถึงชั้นทรายแน่น รับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย 30 ตัน/ต้น (FS=2.5)

หลังจากจบการศึกษาได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยการเป็นพนักงานของบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการทำเสาเข็มเจาะแห่งหนึ่ง และนับแต่นั้นชีวิตการทำงานก็วนเวียนอยู่กับดิน เสาเข็มและฐานรากมาโดยตลอดล่วงเลยมาถึงปัจจุบันก็ประมาณ 21 – 22 ปีแล้ว เผลอแผล็บเดียวก็แก่เสียแล้วครับ ยังจำได้ดีครับ…..ว่าสมัยทำงานแรกๆไม่ค่อยจะได้เรื่องได้ราวสักเท่าไร ไม่รู้จะเริ่มต้นทำงานอย่างไรถึงจะให้คนอื่นเรียกเราว่า ‘วิศวกร’ ได้เต็มปาก แต่ก็ยังโชคดีครับที่มีวิศวกรรุ่นพี่และเจ้านายที่ดีคอยอบรมและชี้แนะให้อยู่เสมอๆ จึงได้เป็นผู้เป็นคนมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วงทำงานใหม่ๆนั้นมักเป็นคนขี้สงสัย….สงสัยโน่น….สงสัยนี่..อยู่เรื่อย (สมัยนี้ก็ยังเป็นอยู่บ้างครับแต่ก็เบาไปเยอะ คงเป็นเพราะแก่ไปมาก…)อย่างกรณีข้อความสามบรรทัดข้างบนนี้ก็เคยเป็นหัวข้อที่สงสัยมาแล้ว “สิ่งที่สงสัยก็คือข้อความที่ขีดเส้นใต้นั่นแหละครับ ว่าเหตุใดปลายเสาเข็มต้องอยู่ในชั้นทราย? หากจะตอบว่าเพราะชั้นทรายแน่นรับแรงแบกทานได้ดี ทำให้เสาเข็มรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก ก็คงจะเป็นคำตอบที่ดีและน่าจะถูกต้องสำหรับเสาเข็มตอก……..แต่หากเป็นเสาเข็มเจาะระบบแห้ง(Dry-process bored pile) ที่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าภายในหลุมเจาะที่จะเทคอนกรีตนั้นควรอยู่ในสภาพที่แห้ง เป็นไปได้หรือไม่ครับ..ว่าการขุดเจาะดินเพื่อทำเสาเข็มจะเป็นสาเหตุให้ทรายที่เคยคาดหวังว่าอยู่ในสภาพแน่นมากกลับกลายเป็นสภาพหลวม หรือไม่ก็มีน้ำไหลในชั้นทรายดันเข้ามาในหลุมเจาะ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ปลายเสาเข็มวางอยู่บนทรายหลวมที่มีน้ำใต้ดินไหลดันอยู่ตลอดเวลาจะให้ผลดีหรือ? คอนกรีตที่เพิ่งเทลงไปจะไม่ถูกน้ำชะล้างจนเหลือแต่หินหรือ? และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มก็คงไม่ดีเป็นแน่” ข้อสงสัยเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่เริ่มทำงานใหม่ๆ หลังจากนั้นได้พยายามหาคำตอบเรื่อยมา จนปัจจุบันคาดว่าน่าจะได้คำตอบที่ดีมีเหตุผลซึ่งพอจะเรียบเรียงนำเสนอได้ดังนี้ :

ปัญหาชั้นดินทรายกับเสาเข็มเจาะระบบแห้ง
คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าเสาเข็มเจาะที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งเป็นสองระบบนั่นคือระบบเปียกและระบบแห้ง ระบบเปียกนั้นมักจะเป็นเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่และความลึกมากๆ ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครปลายของเสาเข็มเจาะระบบเปียกจะอยู่ที่ระดับชั้นทรายแน่นความลึกมากกว่า 30 เมตร การทำเสาเข็มต้องขุดเจาะดินลงไปถึงชั้นทราย และเนื่องจากทรายไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดินจึงเกิดการพังทลายได้ง่าย ดังนั้นเมื่อจะทำการขุดดินผ่านชั้นทรายจึงควรป้องกันการพังทลายของชั้นทรายไว้ก่อน การลงปลอกเหล็กกันดินพัง (Temporary casing) เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ แต่การกดปลอกเหล็กลงไปในชั้นทรายที่ความลึกมากๆและเป็นชั้นทรายแน่นจะกระทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการนำสารละลายชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นมากเพียงพอที่จะต้านการพังทลายของดินมาทดแทน เช่น สารละลายเบนโทไนท์ เป็นต้น ภายหลังขุดเจาะดินได้ระดับความลึกตามที่ต้องการแล้วก็จะทำการเทคอนกรีตผ่าน Tremie pipe คอนกรีตจะถูกส่งไปยังก้นหลุมเจาะไล่สารละลายให้ไหลขึ้นมายังปากหลุมเจาะ และเมื่อเทคอนกรีตอย่างต่อเนื่องจนเต็มสารละลายจะถูกดันออกจากหลุมเจาะจนหมด คำว่าเสาเข็มเจาะระบบเปียกก็คงจะมีที่มาจากการใช้สารละลายช่วยในการขุดเจาะดินนั่นเอง ดังนั้นคงไม่ได้หมายความว่าเสาเข็มเจาะระบบเปียกจะต้องทำด้วยเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากเสาเข็มเจาะที่ทำด้วยเครื่องมือขนาดเล็กเช่นเสาเข็มเจาะที่ทำด้วยสามขา (Tripod Rig) และต้องใช้สารละลายอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยในการขุดเจาะดิน กรรมวิธีในการเทคอนกรีตก็คงต้องเป็นเช่นเดียวกับการทำเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ และก็ควรเรียกว่าเป็นเสาเข็มเจาะระบบเปียกด้วยเช่นกัน

“ผู้เขียนเคยทำเสาเข็มเจาะด้วยเครื่องมือชนิดสามขา(Tripod Rig)ที่โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เสาเข็มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 ซม. ปลายเข็มอยู่ที่ระดับ 9 เมตร (ต่ำจากผิวดิน) เนื่องจากสภาพดินตลอดความลึกที่เจาะเป็นดินแข็งมากสีน้ำตาล กดปลอกเหล็กกันดินได้ยาก ลงปลอกเหล็กกันดินได้เพียง 2 เมตร (เพราะกดไม่ลง) เมื่อทำการขุดเจาะดินไปได้ความลึกประมาณ 8-9 เมตร มีน้ำไหลเข้าในหลุมเจาะ และไหลแรงมากเพียงเวลาไม่นานน้ำไหลขึ้นมาถึงระดับที่ต่ำกว่าผิวดินเพียง 1.50 – 2.00 เมตร ตอนแรกสันนิษฐานว่าระดับความลึก 8 – 9 เมตรนั้นอาจเป็นดินทราย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นดินที่ระดับนั้นต้องเกิดการพังทลายแน่นอนแต่เมื่อนำกระเช้าเก็บดิน(Bucket)มาขุดเจาะดินต่อไปกับไม่พบดินทรายเลย เมื่อพิจารณาจากผลการเจาะสำรวจดินในภายหลังจึงพบว่าดินที่ระดับดังกล่าวเป็นดินที่มีความแข็งมากเกือบเป็นหินและมีร่องแตกมาก นั่นเป็นคำตอบว่าน้ำน่าจะไหลมาจากร่องที่แตกนี่เอง ปัญหาต่อเนื่องก็คือเมื่อปลายเสาเข็มเป็นดินที่มีน้ำไหลแม้จะลงปลอกเหล็ก (casing) ลงไปจนถึงดินชั้นนั้นก็ไม่สามารถกันน้ำได้เพราะน้ำจะยังคงไหลดันเข้าที่ปลายปลอกเหล็กตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงต้องขุดเจาะดินใต้น้ำในสภาพเช่นเดียวกับการทำเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ และเมื่อขุดเจาะดินได้ระดับที่ต้องการแล้วก็ต้องเทคอนกรีตผ่าน Tremie pipe เช่นเดียวกัน เสาเข็มที่ทำด้วยกระบวนการเช่นนี้ก็ควรจะเรียกว่าเป็นเสาเข็มเจาะระบบเปียกด้วย….จริงไหมครับ”

เสาเข็มเจาะอีกประเภทหนึ่งคือเสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและความลึกไม่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุด 60 ซม. ความลึกไม่เกิน 29 ม. โดยทั่วไปที่พบเห็นจะกำหนดปลายเสาเข็มที่ระดับ 21 ม.หรือถึงชั้นทราย ซึ่งชั้นทรายที่ว่านี้ในกรุงเทพมหานครช่วงกลางๆเมืองเช่น สีลม รองเมือง เพลินจิต อุรุพงษ์ บางกะปิ พระโขนง เป็นต้น เป็นชั้นทรายปนดินเหนียวหรือทรายปนดินตะกอนสีเหลือง ( Clayey sand or silty sand) มีสภาพอ่อนเละๆ ใช้มือบีบให้เสียรูปได้ง่าย เป็นดินชุ่มน้ำสังเกตุได้จากความชุ่มแฉะของดิน และนั่นแสดงว่าดินชั้นนี้เป็นชั้นดินที่มีน้ำ หากขุดเจาะถึงดินชั้นนี้แล้วทิ้งไว้สักพักหนึ่งจะพบว่าบริเวณก้นหลุมเจาะมีน้ำ ชั้นทรายชั้นนี้จัดเป็นทรายชั้นแรกที่พบเจอ(First sand Layer) ระดับความลึกอยู่ที่ประมาณ 19 – 22 ม.

นอกตัวเมืองออกไป เช่น บริเวณงามวงศ์วาน แจ้งวัฒนะ รังสิต นวนคร บางเขน เป็นต้น จะพบชั้นทรายที่ระดับตื้นกว่า คือประมาณ 16-18ม. ทรายที่พบมักจะเป็น Clean sand และด้วยเหตุที่น้ำไหลผ่านทรายได้ดี ดังนั้นเมื่อขุดเจาะดินถึงชั้นทราย น้ำจะไหลเข้าหลุมเจาะ แม้จะพยายามลงปลอกเหล็กกันดิน(Casing)ลงไปถึงชั้นทรายถึงระดับปลายเข็มที่ต้องการก็ไม่สามารถป้องกันน้ำได้ เพราะน้ำจะยังคงไหลเข้าใต้ปลายปลอกเหล็กตลอดเวลา วิธีแก้ไขทางเดียวก็คือต้องกดปลอกเหล็กต่อลงไปให้ถึงดินเหนียวที่อยู่ใต้ชั้นทราย วิธีนี้ดินเหนียวที่มีค่าการซึมผ่านได้ต่ำ จะช่วยป้องกันน้ำไม่ให้เข้าปลายหลุมเจาะได้ แต่ก็จะเป็นการบังคับให้จำเป็นต้องเปลี่ยนระดับปลายเข็มไปอยู่ในชั้นดินเหนียวด้วย ทั้งนี้เพราะหากระดับดินที่ขุดเจาะยังอยู่ในปลอกเหล็กกันดิน ดินส่วนที่เหลือช่วงปลายปลอกเหล็กจะอุดตันกันไม่ให้คอนกรีตหรือเหล็กเสริมไหลลงขณะถอนปลอกเหล็กกันดินขึ้น (เปรียบเสมือนกับจุกก๊อกที่ปิดปลายขวดกันน้ำไหลออกนั่นเอง) คอนกรีตและเหล็กเสริมจะถูกยกขึ้นพร้อมกับปลอกเหล็กกันดิน ทำเสาเข็มไม่เสร็จสมบูรณ์แถมเครื่องมือยังอาจเสียหายอีกด้วย

เหตุใดจึงให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทราย
แม้ทรายจะไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดิน(Cohesion)แต่เมื่ออยู่ในสภาพที่ถูกจำกัดขอบเขต (Confining condition) เม็ดทรายไม่สามารถลื่นไถลหรือเคลื่อนตัวไปทางอื่นได้ สภาวะเช่นนี้เม็ดทรายจะรวมตัวกันต้านแรงที่มากระทำได้ดี “สามารถจำลองสภาพเช่นที่ว่านี้ให้เห็นได้ง่ายโดยนำทรายมาใส่แก้วให้เกินครึ่งถ้วย แล้วลองนำแท่งดินสอมาปักลงในทราย สังเกตพฤติกรรมของทรายขณะปักดินสอ จะพบว่าเม็ดทรายช่วงบนจะกลิ้งหรือเคลื่อนหนีออกจากตำแหน่งที่แท่งดินสอกดลง และเป็นการเคลื่อนตัวได้ง่ายเพราะผิวบนของทรายไม่มีอะไรกดทับอยู่ ต่อเมื่อกดแท่งดินสอต่ำลงไปเรื่อยๆ เม็ดทรายที่อยู่ต่ำลงไปจะเคลื่อนหนีได้ยากขึ้นเพราะมีน้ำหนักของทรายที่อยู่ช่วงบนกดทับอยู่ และเมื่อกดต่ำต่อไปถึงตำแหน่งหนึ่งเม็ดทรายตรงปลายแท่งดินสอไม่สามารถเคลื่อนตัวไปไหนได้อีกมีแต่จะต้องรวมตัวกันต้านทานแรงที่กดลง และจะพบว่าเราไม่สามารถกดแท่งดินสอจนถึงก้นแก้วได้ นั่นเป็นข้อพิสูจน์ว่าทรายในสภาวะเช่นนี้จะรับแรงแบกทานได้ดี”

การตอกเสาเข็มลงดินให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทรายก็เพราะต้องการแรงแบกทานที่ปลายเข็ม ซึ่งพฤติกรรมที่เสาเข็มจมลงในชั้นทรายจะเป็นไปตามแบบจำลองที่กล่าวถึง นั่นก็คือปลายเสาเข็มจะต้องจมลงไปในชั้นทรายระดับหนึ่งก่อน จึงจะมีแรงต้านทานอันเนื่องจากทรายที่มากเพียงพอ และเพียงพอที่จะตรวจนับ Blow count ได้ เพราะเสาเข็มจะจมลงดินน้อยลงตามลำดับอันเนื่องจากมีแรงต้านที่ปลายเข็มจากทรายมากขึ้น แต่หากปลายเสาเข็มเป็นดินเหนียวพฤติกรรมการต้านแรงที่ปลายเสาเข็มจะต่างกันไป ดินเหนียวจะมีการยืดตัวมากเมื่อทิ้งลูกตุ้มตอกเข็มในแต่ละครั้ง ระยะการจมลึกของเข็มจะมากจนทำให้บางครั้งไม่สามารถตรวจนับ Blow count ได้

สภาพจำลองการกดแท่งดินสอลงทรายในถ้วยแก้วดังที่กล่าวแล้ว ซึ่งไม่สามารถกดให้แท่งดินสอจมลงถึงก้นแก้วได้ หากต้องการกดแท่งดินสอให้จมลงต่อไปจนถึงก้นแก้วต้องใช้แรงกดที่มากเพียงพอที่จะกดจนเม็ดทราย(sand grain)แตกย่อยลง หรือทำการเจาะรูที่ก้นแก้วแล้วเปิดให้น้ำไหลเข้าจากก้นถ้วยแก้ว วิธีหลังนี้ไม่จำเป็นต้องกดแท่งดินสอ เพราะน้ำที่เปิดให้ไหลเข้านั้นจะทำให้ทรายฟุ้งขึ้น ทรายที่เคยแน่นจะกลับกลายเป็นสภาพหลวม แท่งดินสอจะจมลงจนถึงก้นถ้วยเอง ลักษณะเช่นนี้พอจะเปรียบเทียบได้กับเสาเข็มเจาะระบบแห้งที่วางปลายเสาเข็มในชั้นทราย เมื่อขุดเจาะดินจนถึงชั้นทรายจะมีน้ำไหลเข้าหลุมเจาะพร้อมกับทรายที่พังทลาย สภาพทรายใต้ปลายเข็มจะอยู่ในลักษณะที่ฟุ้งกระจายตามแรงดันของน้ำ สูญเสียสภาพความแน่นตัวที่เคยมีอยู่เดิม เช่นชั้นทรายที่ระดับดังกล่าวอาจมีค่า SPT > 30 bl/ft ผลจากกระบวนการทำเข็มทำให้ค่า SPT น้อยลง กำลังรับน้ำหนักปลายเข็มจึงมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย กลับกลายเป็นเสาเข็มที่รับน้ำหนักได้ด้วยแรงเสียดทานเพียงอย่างเดียว (Friction Pile)

ลักษณะการไหลของน้ำเข้าหลุมเจาะ
รูปที่ 1 – 8 เป็นรูปแสดงขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะระบบแห้งที่ทำด้วยเครื่องมือชนิดสามขา สภาพชั้นดินโดยทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครจะมีลักษณะดังที่แสดงในรูป เรียงลำดับจากดินเหนียวอ่อน ดินเหนียวแข็งปานกลางถึงแข็ง (Medium to stiff clay) ต่ำลงไปเป็นชั้นทรายหรือชั้นทรายปนดินเหนียวที่เรียกว่า First sand layer ถัดจากชั้นทรายจะเป็นดินเหนียวแข็งมาก(Very stiff to hard clay)สีน้ำตาล เมื่อพ้นชั้นนี้จะเป็นชั้นทรายอีกชั้นหนึ่งที่เรียกกันว่า Second sand layer การทำเสาเข็มเจาะระบบแห้งนั้นมักจะถูกกำหนดให้ปลายเสาเข็มอยู่ในทรายชั้นแรก (First sand layer) ซึ่งจะพบปัญหาเรื่องน้ำใต้ดินและการพังทลายของทรายดังได้กล่าวมาแล้ว

หมายเหตุ สังเกตจากในรูปที่1 ว่าระดับน้ำใต้ดินอยู่ต่ำกว่าผิวดินไม่มากนัก (สามารถวัดระดับน้ำใต้ดินได้จากการเจาะสำรวจดินและทิ้งรูเจาะสำรวจดินไว้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง)

รูปที่ 1 – 4 แสดงการลงปลอกเหล็กกันดินพัง ปลายปลอกเหล็กกันดินจะต้องฝังจมลงในชั้นดินเหนียวแข็ง ด้วยเหตุนี้ความยาวของปลอกเหล็กในการทำเสาเข็มเจาะแต่ละแห่งจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นดินเหนียวอ่อน เมื่อลงปลอกเหล็กเรียบร้อยแล้ว ทำการขุดเจาะดินผ่านปลายปลอกเหล็กลงไปจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ

รูปที่ 5 – 8 แสดงให้เห็นว่าเมื่อขุดเจาะดินลงไปถึงชั้นทราย ซึ่งเป็นชั้นดินที่น้ำไหลซึมผ่านได้ง่าย น้ำจะไหลเข้าหลุมเจาะผ่านชั้นทราย แรงดันของน้ำที่เกิดขึ้นมีผลมาจากการขุดเจาะดินทำให้เกิดความต่างระดับของน้ำที่ปลายล่างของหลุมเจาะกับระดับน้ำใต้ดิน (Underground water level) เกิดเป็นความต่างศักย์ (Diferent head)ผลักดันให้น้ำไหลเพื่อปรับระดับให้เสมอกัน น้ำในหลุมเจาะจะหยุดไหลเมื่อค่า Different head = 0

หากดินทรายชั้นนั้นเป็นทรายล้วนๆ(Clean sand) น้ำจะไหลผ่าชั้นทรายได้สะดวก ทำให้น้ำไหลดันเข้ามาในหลุมเจาะได้เร็วมาก หากทิ้งหลุมเจาะไว้ระยะหนึ่งจะพบว่าน้ำขึ้นมาถึงระดับเดียวกับระดับน้ำใต้ดิน เมื่อระดับน้ำเสมอกันแล้วจึงจะหยุดไหล เมื่อพบสภาพเช่นนี้จะไม่สามารถเทคอนกรีตได้ทัน หรือถ้าพยายามเร่งรีบเทคอนกรีตเพื่อกันน้ำดันขึ้นนั้น ก็จะได้เสาเข็มที่มีสภาพไม่ดี คอนกรีตบริเวณส่วนปลายเข็มจะเกิดการแยกตัวไม่ก่อรูปเป็นแท่งเข็ม ลักษณะเช่นนี้จะพบได้มากบริเวณสมุทรปราการ งามวงศ์วาน แจ้งวัฒนะ รังสิต และจรัญสนิทวงศ์ใกล้สะพานพระรามหก

แต่หากชั้นทรายที่ปลายเข็มมีดินเหนียวปน ที่เรียกกันว่าทรายปนดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย น้ำจะดันเข้าหลุมเจาะได้ยากขึ้นเพราะดินเหนียวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดินช่วยเป็นตัวประสานระหว่าง เม็ดทรายอุดช่องทางการไหลของน้ำทำให้ค่าการไหลซึมผ่านของน้ำต่ำลง สภาพทรายชั้นแรกเช่นนี้พบได้บริเวณ สุขุมวิท รองเมือง สีลม ลาดพร้าว เมื่อเป็นดินเช่นนี้น้ำซึมผ่านได้ช้าทำให้เทคอนกรีตได้ทันเวลาโดยไม่พบว่ามีน้ำไหลดันเข้ามาในคอนกรีต แต่อย่างไรก็ตามหากสังเกตให้ดีจะพบว่าทรายปนดินเหนียวนั้นมักจะชุ่มแฉะและอ่อนกว่าดินเหนียวที่อยู่เหนือดินชั้นนั้นเสียอีก ลักษณะดินเช่นนี้ไม่น่าจะรับน้ำหนักได้ดีเท่าดินเหนียวแข็ง ดังนั้นจึงควรให้ปลายเสาเข็มเจาะระบบแห้งอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็งเหนือทรายชั้นนี้ หรืออยู่ในดินเหนียวแข็งมาก (Very stiff to hard clay)ใต้ชั้นทราย

บทสรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า การทำเสาเข็มเจาะระบบแห้งโดยให้ปลายเข็มอยู่ในชั้นทราย เมื่อขุดเจาะดินจนถึงชั้นทรายไม่ว่าจะเป็นทรายล้วนหรือทรายปนดินเหนียวชั้นทรายดังกล่าวจะพังทลายเพราะไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเม็ดดิน นอกจากนั้นในชั้นทรายยังมีน้ำใต้ดินไหลผ่านเป็นเหตุให้น้ำไหลเข้ามาในหลุมเจาะตลอดเวลาพร้อมกับการพังทลายของทราย หากเป็นทรายล้วนน้ำจะไหลเข้าหลุมเจาะเร็วมากจนไม่สามารถทำเสาเข็มได้ แต่หากเป็นทรายที่มีดินเหนียวปน (Clayey sand) การไหลซึมผ่านของน้ำจะช้าลง แต่หากทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง น้ำยังคงไหลเข้ามาในหลุมเจาะได้ แม้จะแก้ไขด้วยการลงปลอกเหล็กกันดิน(Casing)ยาวตลอด ก็อาจป้องกันน้ำไม่ได้เพราะน้ำยังคงไหลเข้าที่ปลาย Casing อยู่ดี สภาพทรายที่ปลายล่างของเข็มจะไม่แน่นตัวเหมือนอย่างที่เคยเป็นอยู่เดิม ดังนั้นด้วยการทำเสาเข็มระบบนี้จึงไม่ควรให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทราย เพราะนอกจากจะมีปัญหาในขณะทำเสาเข็ม เสาเข็มอาจไม่สมบูรณ์แล้ว เสาเข็มที่ได้ยังมีกำลังแรงต้านทานที่ปลายเข็มต่ำอีกด้วย

ข้อแนะนำ
ใคร่ขอแนะนำเกี่ยวกับปลายเสาเข็มเจาะระบบแห้งดังนี้
– ควรให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็งเหนือชั้นทราย ให้ระยะเหนือชั้นทรายเพียงพอที่จะไม่กระทบกระเทือนชั้นทรายจนน้ำใต้ดินไหลดันขึ้นมา และต้องให้มีระยะหนาเพียงพอที่จะไม่เกิดการดันทะลุ (punching) ลงในชั้นทรายได้ (อาจให้ระยะเหนือชั้นทรายประมาณ 2-3 เท่าเส้นผ่าศูนย์กลางเข็ม) การวางปลายเสาเข็มที่ระดับเช่นนี้ Stress Zone ที่เกิดจากส่วนปลายเข็มจะผ่านเข้าในชั้นทรายแน่นที่ยังคงแน่นตามสภาพเดิม จะได้แรงต้านปลายเข็มที่ดีกว่าการไปเจาะดินรบกวนชั้นทราย

– ในกรณีดินเหนียวเหนือชั้นทรายเป็นดินอ่อน ควรให้ปลายเข็มอยู่ในดินเหนียวแข็งใต้ชั้นทราย วิธีนี้ต้องขุดเจาะดินผ่านชั้นทรายชั้นแรก (First sand layer) จึงจำเป็นต้องลงปลอกเหล็กกันดินผ่านชั้นทรายให้ปลายปลอกเหล็กฝังจมในดินเหนียวแข็ง ปลอกเหล็กจะป้องกันการพังทลายของทรายและป้องกันน้ำไหลเข้ามาในหลุมเจาะได้

– แต่หากยังต้องการวางปลายเสาเข็มเจาะในชั้นทรายอย่างแน่นอนแล้ว ควรให้เป็นเสาเข็มเจาะระบบเปียกที่ใช้สารละลายเบนโทไนท์หรือสารละลายอื่นใดที่มีความหนาแน่นเพียงพอที่จะป้องกันการพังทลายของทราย และทำให้ทรายมีความแน่นตัวใกล้เคียงสภาพเดิมที่เคยเป็นอยู่จะได้ผลดีกว่า ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ในการทำเสาเข็มเจาะเสมอไป ในระดับความลึกไม่เกิน 25 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 60 ซม. สามารถทำเสาเข็มเจาะระบบเปียกได้ด้วยเครื่องมือชนิดสามขาเช่นกัน แต่เป็นที่แน่นอนว่าต้องใช้เวลาในการทำงานมากกว่า

การทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง

ความรู้เสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ

การ เจาะ เสาเข็ม  แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การลงปลอกเหล็กชั่วคราว

เมื่อตั้งเสาสามขา(Tripod)ในตำแหน่งที่กำหนด ใช้ลูกตุ้มเหล็กน้ำหนัก 900กิโลกรัม ตอกปลอกเหล็กชั่วคราวซึ่งมีความยาว 1.20–1.50เมตรลงดิน โดยแต่ละท่อน จะยึดติดด้วยเกลียว โดยจะตอกลงไปจนถึงระดับชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันการพังทลายของดินลงมาในหลุมที่ขุดเจาะ

2.การขุดเจาะดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)

ใช้กระเช้าเก็บดิน (Bucket) ขุดเจาะเอาดินในปอกเหล็กชั่วคราวออกจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ ทำการตรวจวัดระดับความลึกก้นหลุมด้วยเทปวัด ก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป

3. การใส่เหล็กเสริม

นำเหล็กเสริมที่มีความยาว 10+5+5 เมตร และระยะการต่อทาบของเหล็กในแต่ละวงเป็น40เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กตามมาตรฐาน วสท.และมีระยะห่างระหว่างเหล็กปลอกไม่เกิน 0.20 เมตรใส่ในท้อเหล็กที่เจาะ โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากก้นหลุมประมาณ 0.50 เมตร เพื่อประคองโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางหลุมเจาะจะต้องใส่ลูกปูน (Mortar) กันไว้เป็นระยะ โดยให้มีระยะห่าง (Covering) ไม่น้อยกว่า 7.5 เซนติเมตรโดยรอบ

4. การเทคอนกรีต

การทเคอนกรีตนั้น ต้องเทผ่านกรวยเทคอนกรีต ( Hopper ) เพื่อให้คอนกรีตหล่นกลางหลุม โดยไม่ปะทะกับผนังรูเจาะ ซึ่งจะช่วยลดการอยกตัวของคอนกรีต และจะช่วยให้เกิด Self compaction จึงมีการควบคุมค่า Slump Test ให้อยู่ระหว่าง 10 – 12.5 ซ.ม. โดยการเทนั้นต้องเทให้เต็มหรือเกือบเต็มหลุม ก่อนจะทำการถอนปลอกเหล็ก เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องและมองเห็นการยุบตัวของคอนกรีตได้ชัดเจน เพื่อเป็ฯการตรวจสอบในระดับหนึ่งว่าเข็มมีความสมบรูณ์ตลอดความยาว

5. การถอนปลอกเหล็ก

การถอนปลอกเหล็กหรือ Casting ขึ้นนั้น จะทำการถอนขึ้นทีละ 1 ท่อน โดยขณะถอนนั้นต้องให้มีปูนอยู่ใน Casting ตลอด เพื้อป้องกันไม่ให้ดินรอบข้างบีบอัดตัวจนทำให้หัวเข็มเสียรูปทรง หรือกันน้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะ และเมื่อคอนกรีตยุบตัว จะต้องทเคอนกรีตตามลงไปเพื่อให้ได้ตามระดับที่ต้องการ โดยปกติหัวเสาเข็มเจาะ จะต้องเผื่อระยะไว้เพื่อสกัดคอนกรีตที่มีสิ่งสกปรกออกประมาณ 30 – 50 ซ.ม.

6. ทำเสาเข็มต้นต่อไป

การทำเสาเข็มเจาะต้นถัดไป ต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มเจาะต้นเดิม ไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม แต่หากเกิดกรณี่ที่มิสามารถหลีกเหลี่ยงได้ โดยต้องเจาะเสาเข็มโดยที่ระยะห่างไม่ถึง 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้น ควรทิ้งระยะเวลาให้เสาเข็มต้นที่เทปูนไปแล้วเซ็ตตัวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเมื่อทำงานเสร็จครบตามจำนวนต้นแล้ว ก็จะมีการทำความสะอาดพื้นที่เพื่อให้ทีมงานอื่น เข้ามาทำงานต่อได้อย่างราบรื่นไร้ปัญหา

เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก

ความรู้เสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ

                                                                                                  ปัญหาเกี่ยวกับเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ธเนศ วีระศิริ อ.พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

           เสาเข็มเจาะขนาดเล็กโดยทั่วไปจะหมายถึงเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 50 และ 60 ซม. มีความลึกไม่เกิน 25 เมตร เครื่องมือที่ใช้ทำเสาเข็มประเภทนี้เรียกว่า Tripod Rig ประกอบด้วยแท่งเหล็ก 3 ท่อนยึดติดที่ปลายบนกับรอกเดี่ยว เมื่อติดตั้งเครื่องมือแล้วเสร็จจะมีลักษณะคล้ายขาหยั่งสามขา ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า “ สามขาเจาะดิน” ความสูงของเครื่องมือประมาณ 3.00 – 3.50 เมตร เครื่องมือชนิดนี้เหมาะสำหรับทำเสาเข็มในพื้นที่คับแคบ แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมีความกว้างยาวของพื้นที่ประมาณ 2 x 3 เมตร

           เนื่องจากดินที่ระดับความลึกประมาณ 15 – 17 เมตรช่วงบนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นดินอ่อน ขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะจึงต้องเริ่มต้นด้วยการติดตั้งปลอกเหล็กกันดินพังก่อน ถัดจากนั้นจึงค่อยขุดดินให้ได้ความลึกตามต้องการ ความลึกของเสาเข็มเจาะขนาดเล็กที่ต้องการส่วนมากไม่เกิน 20 – 22 เมตร เพราะที่ระดับความลึกดังกล่าวเป็นดินปนทราย ซึ่งอาจมีน้ำไหลซึมเข้ามาขณะขุดเจาะดิน ผู้รับจ้างมักจะแจ้งเจ้าของอาคารว่าไม่สามารถขุดเจาะให้ลึกลงไปอีกเพราะน้ำจากใต้ดินจะไหลเข้ารูเจาะจนทำให้ไม่สามารถเทคอนกรีตได้ เจ้าของอาคารส่วนใหญ่ต้องยอมให้ผู้รับจ้างหยุดความลึกเมื่อพบเห็นชั้นดินทรายมีน้ำซึม และเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

           เคยมีตัวอย่างอาคาร 3 ชั้นหลังหนึ่งในซอยอ่อนนุช แบบแปลนก่อสร้างอาคารกำหนดให้ใช้เสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 ซม. ความลึก 22 เมตร ผู้รับจ้างทำเสาเข็มทำการขุดเจาะดินลงไปถึงระดับความลึก 19 เมตร พบชั้นดินทรายมีน้ำไหลเข้ารูเจาะ จึงบอกเจ้าของอาคารว่าไม่สามารถเจาะต่อได้และแนะนำว่าควรลดระดับความลึกให้เหลือ 18 เมตร เจ้าของอาคารเห็นว่าพบชั้นทรายแล้วคงไม่สามารถขุดเจาะดินต่อได้จริงๆจึงเห็นตามด้วยโดยไม่ปรึกษาวิศวกรก่อน ผลปรากฏว่าเมื่อสร้างอาคารแล้วเสร็จได้เพียงเดือนเดียวอาคารก็เกิดการทรุดตัวจมลงดิน ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขอีกมากกว่าจะทำให้อาคารกลับมามีความมั่นคงแข็งแรงดังเดิม

           ปัญหาของเสาเข็มขนาดเล็กที่ใช้เครื่องมือชนิดสามขานั้น ส่วนมากเกี่ยวกับชั้นดินทรายเนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องน้ำในดินไหลเข้าในรูเจาะ การแก้ไขปัญหาในลำดับแรกคือพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ปลายเสาเข็มวางอยู่ในชั้นทรายหรือดินปนทราย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะต้องลดความลึกเมื่อพบชั้นทรายเสมอไป หากเมื่อลดระดับความลึกแล้วปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินอ่อนหรือในชั้นดินที่ความแข็งแรงไม่เพียงพอ ก็ไม่ควรลดระดับปลายเข็ม กรณีเช่นนี้ควรขุดเจาะดินให้ลึกเลยชั้นทรายลงไปถึงชั้นดินเหนียวแข็งด้านล่าง แต่หากพบว่าไม่มีชั้นดินเหนียวด้านล่างมีแต่ชั้นทรายต่อเนื่องไปตลอดก็ควรเปลี่ยนเป็นใช้เสาเข็มเจาะระบบเปียกที่ใช้สารละลายช่วยในการขุดเจาะดิน จะทำให้ได้เสาเข็มที่มีคุณภาพและสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามต้องการ

           ถึงตรงนี้อาจมีข้อสงสัยว่าเสาเข็มเจาะระบบเปียกที่นำมาใช้แก้ปัญหานั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องมือชนิดที่เป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ด้วยหรือไม่ อันที่จริงแล้วไม่จำเป็นเพราะเสาเข็มเจาะขนาดเล็กสามารถใช้เครื่องมือชนิดสามขาทำระบบเปียกได้ แต่ต้องมีการประยุกต์เครื่องมือบางส่วนเท่านั้น กล่าวโดยสรุปแล้วเมื่อใดก็ตามที่เลือกใช้เสาเข็มเจาะขนาดเล็กทำด้วยเครื่องมือชนิดสามขา

           · ไม่ควรให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทราย หรือแม้แต่ชั้นดินเหนียวปนทราย เพราะจะทำให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะ ดินใต้ปลายเสาเข็มจะอยู่ในสภาพฟุ้งหรือฟูขึ้นไม่แน่นตัวตามธรรมชาติ ทำให้แรงต้านทานที่ปลายเสาเข็มต่ำกว่าที่ออกแบบไว้

           · หากขุดเจาะดินพบชั้นทรายอย่าใช้วิธีการลดความลึกเสมอไป หากต้องลดความลึกต้องมั่นใจว่าปลายเสาเข็มอยู่ในดินเหนียวแข็งและต้องเพิ่มจำนวนเสาเข็มหรือขนาดหน้าตัดเสาเข็มให้มากกว่าเดิม ให้เพียงพอรับน้ำหนักของอาคารได้

          · ทางเลือกหนึ่งเมื่อขุดเจาะดินพบชั้นทรายควรให้ผู้รับจ้างลงปลอกเหล็กลงไปกันชั้นทรายชั้นนั้น ให้ปลายปลอกเหล็กฝังลงในดินเหนียวแข็งใต้ชั้นทรายนั้น แล้วขุดเจาะดินลงไปในชั้นดินเหนียวแข็งใต้ชั้นทราย

           · หากพบว่าขุดเจาะดินพบชั้นทรายที่มีความหนามากๆ ยากที่จะลงปลอกเหล็กป้องกันดินลงไปกันชั้นทรายได้ ควรเปลี่ยนเป็นใช้เสาเข็มเจาะระบบเปียก

 ทั้งนี้ควรเจาะสำรวจดินให้ทราบสภาพการจัดเรียงตัวของชั้นดินก่อนทำการก่อสร้าง จะทำให้สามารถกำหนดชนิดของเสาเข็มได้อย่างถูกต้องดีกว่าลองผิดลองถูกแล้วต้องมาคอยแก้ปัญหาภายหลังครับ

รูปภาพ เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก

เสาเข็มเจาะ แบบแห้ง

ความรู้เสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ

 การทำงานในพื้นที่จำเสาเข็มเจาะ แบบแห้ง ติดตั้งสามขา (Tripod Rig)กัด (เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก)

35เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก

 – ระยะห่างจากผนังไม่ต่ำกว่า 0.75 เมตร

 – ต้นมุมต้องแทยงมุมไม่ต่ำกว่า 1 เมตร

– ระยะความสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร

 – เมื่อเจาะถึงชั้นทรายต้องหยุดเจาะ

 – เมื่อเจาะเจอชั้นน้ำต้องหยุดทันที

– พื้นที่เจาะต้องอยู่ในแนวระนาบเรียบ

 – พื้นที่ต้องไม่เป็นดินเลนโคลนลึก

 เสาเข็มเจาะ ชนิดนี้มีขนาดเล็กและความลึกไม่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุด 60 ซม. ความลึกไม่เกิน 29 ม. โดยทั่วไปที่พบเห็นจะกำหนดปลายเสาเข็มที่ระดับ 21 ม.หรือถึงชั้นทราย ซึ่งชั้นทรายที่ว่านี้ในกรุงเทพมหานครช่วงกลางๆเมืองเช่น สีลม รองเมือง เพลินจิต อุรุพงษ์ บางกะปิ พระโขนง เป็นต้น เป็นชั้นทรายปนดินเหนียวหรือทรายปนดินตะกอนสีเหลือง ( Clayey sand or silty sand) มีสภาพอ่อนเละๆ ใช้มือบีบให้เสียรูปได้ง่าย เป็นดินชุ่มน้ำสังเกตุได้จากความชุ่มแฉะของดิน และนั่นแสดงว่าดินชั้นนี้เป็นชั้นดินที่มีน้ำ หากขุดเจาะถึงดินชั้นนี้แล้วทิ้งไว้สักพักหนึ่งจะพบว่าบริเวณก้นหลุมเจาะมีน้ำ ชั้นทรายชั้นนี้จัดเป็นทรายชั้นแรกที่พบเจอ(First sand Layer) ระดับความลึกอยู่ที่ประมาณ 19 – 22 ม. นอกตัวเมืองออกไป เช่น บริเวณงามวงศ์วาน แจ้งวัฒนะ รังสิต นวนคร บางเขน เป็นต้น จะพบชั้นทรายที่ระดับตื้นกว่า คือประมาณ 16-18ม. ทรายที่พบมักจะเป็น Clean sand และด้วยเหตุที่น้ำไหลผ่านทรายได้ดี ดังนั้นเมื่อขุดเจาะดินถึงชั้นทราย น้ำจะไหลเข้าหลุมเจาะ แม้จะพยายามลงปลอกเหล็กกันดิน(Casing)ลงไปถึงชั้นทรายถึงระดับปลายเข็มที่ต้องการก็ไม่สามารถป้องกันน้ำได้ เพราะน้ำจะยังคงไหลเข้าใต้ปลายปลอกเหล็กตลอดเวลา วิธีแก้ไขทางเดียวก็คือต้องกดปลอกเหล็กต่อลงไปให้ถึงดินเหนียวที่อยู่ใต้ชั้นทราย วิธีนี้ดินเหนียวที่มีค่าการซึมผ่านได้ต่ำ จะช่วยป้องกันน้ำไม่ให้เข้าปลายหลุมเจาะได้ แต่ก็จะเป็นการบังคับให้จำเป็นต้องเปลี่ยนระดับปลายเข็มไปอยู่ในชั้นดินเหนียวด้วย ทั้งนี้เพราะหากระดับดินที่ขุดเจาะยังอยู่ในปลอกเหล็กกันดิน ดินส่วนที่เหลือช่วงปลายปลอกเหล็กจะอุดตันกันไม่ให้คอนกรีตหรือเหล็กเสริมไหลลงขณะถอนปลอกเหล็กกันดินขึ้น (เปรียบเสมือนกับจุกก๊อกที่ปิดปลายขวดกันน้ำไหลออกนั่นเอง) คอนกรีตและเหล็กเสริมจะถูกยกขึ้นพร้อมกับปลอกเหล็กกันดิน ทำเสาเข็มเจาะไม่เสร็จสมบูรณ์แถมเครื่องมือยังอาจเสียหายอีกด้วย

ราคาเสาเข็มเจาะ

ความรู้เสาเข็มเจาะ, เสาเข็มเจาะ

       ราคาเสาเข็มเจาะในปัจจุบันธุรกิจก่อสร้าง มีการแข่งขันที่สูงขึ้นมาก จนทำให้เสาเข็มเจาะแบบแห้ง ที่มีในท้องตลาดนั้น เริ่มมีหลายคุณภาพและมาตรฐาน เพราะงาน เสาเข็มเจาะ นั้นเป็นงานที่ต้องมี ผู้เชี่ยวชาญ หรือ วิศวกร ควบคุมงาน ให้ได้ตามมาตรฐาน และหากเป็นผู้รับเหมาทั่วไป ท่านอาจถูกผู้รับเหมาบางคน ที่ไม่รับผิดชอบบิดเบือน หรือแอบแฝงการใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานให้แก่อาคารหรือที่พักอาศัยของท่านได้  เราจึงอยากให้ ลูกค้าทุกท่านที่เป็นเจ้าของงาน ควรพึงระวังและสังเกตุ บริษัท เสาเข็มเจาะแบบแห้งที่ท่านกำลังจะว่าจ้าง หรือกำลังทำงานให้แก่ท่านว่า มีคุณภาพของช่างผู้ชำนาญการ และคุณภาพของวัสดุที่ใช้งานมากน้อนเพียงใด โดยไม่ใช่แค่คำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว โดยสิ่งที่ควรจะสังเกตุง่ายๆมีดังนี้ 

1. บริษัท รับทำเสาเข็มเจาะ  ที่ท่านไว้วางใจนั้น มีผู้เชี่ยวชาญ หรือ วิศวกร ที่ให้คำแนะนำที่ดูน่าเชื่อถือหรือไม่

2. คอนกรีต และ เหล็ก ของ เสาเข็มเจาะ นั้นต้องถูกออกแบบตามมาตรฐาน  วสท. เช่น เหล็กควรเป็นเหล็กเต็ม คอนกรีตควรใช้คอนกรีตสำหรับงานเสาเข็มเจาะโดยเฉพาะ และจำนวนความยาวเหล็กกับความลึกสัมพันธ์กันหรือไม่

3. ความพร้อมของสภาพเครื่องมือที่จะใช้ทำงาน เสาเข็มเจาะ มีสภาพอย่างไร (อาจทำให้งานล่าช้า) 

4. ขั้นตอนการทำ เสาเข็มเจาะ ถูกต้องตามมาตรฐานการ เจาะเสาเข็ม หรือไม่

5. มีการรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับ เสาเข็มเจาะ อย่างไรบ้าง โดยส่วนใหญ่ควรจะว่าจ้าง เสาเข็มเจาะ ที่เป็นบริษัทมากกว่า ช่างโดยทั่วไป เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของวัสดุ และการรับประกันต่างๆในงานที่จะเกิดขึ้น

           ทางบริษัท จึงมีข้อแนะนำท่านลูกค้าทุกท่าน ให้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวให้รอบครอบ หรือปรึกษาผู้ชำนาญการที่ไว้ใจได้ เพื่อให้การทำการเจาะเสาเข็ม ของโครงการของท่านได้รับประสิทธิภาพมากที่สุด และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ทาง บริษัท ของเราได้ให้บริการ ทำเสาเข็มเจาะ ที่มีคุณภาพ ราคา ถูก แก่ทุกท่าน 

การ เจาะ เสาเข็ม  แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การลงปลอกเหล็กชั่วคราว

เมื่อตั้งเสาสามขา(Tripod)ในตำแหน่งที่กำหนด ใช้ลูกตุ้มเหล็กน้ำหนัก 900กิโลกรัม ตอกปลอกเหล็กชั่วคราวซึ่งมีความยาว 1.20–1.50เมตรลงดิน โดยแต่ละท่อน จะยึดติดด้วยเกลียว โดยจะตอกลงไปจนถึงระดับชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันการพังทลายของดินลงมาในหลุมที่ขุดเจาะ

2.การขุดเจาะดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)

ใช้กระเช้าเก็บดิน (Bucket) ขุดเจาะเอาดินในปอกเหล็กชั่วคราวออกจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ ทำการตรวจวัดระดับความลึกก้นหลุมด้วยเทปวัด ก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป

3. การใส่เหล็กเสริม

นำเหล็กเสริมที่มีความยาว 10+5+5 เมตร และระยะการต่อทาบของเหล็กในแต่ละวงเป็น40เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กตามมาตรฐาน วสท.และมีระยะห่างระหว่างเหล็กปลอกไม่เกิน 0.20 เมตรใส่ในท้อเหล็กที่เจาะ โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากก้นหลุมประมาณ 0.50 เมตร เพื่อประคองโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางหลุมเจาะจะต้องใส่ลูกปูน (Mortar) กันไว้เป็นระยะ โดยให้มีระยะห่าง (Covering) ไม่น้อยกว่า 7.5 เซนติเมตรโดยรอบ

4. การเทคอนกรีต

การทเคอนกรีตนั้น ต้องเทผ่านกรวยเทคอนกรีต ( Hopper ) เพื่อให้คอนกรีตหล่นกลางหลุม โดยไม่ปะทะกับผนังรูเจาะ ซึ่งจะช่วยลดการอยกตัวของคอนกรีต และจะช่วยให้เกิด Self compaction จึงมีการควบคุมค่า Slump Test ให้อยู่ระหว่าง 10 – 12.5 ซ.ม. โดยการเทนั้นต้องเทให้เต็มหรือเกือบเต็มหลุม ก่อนจะทำการถอนปลอกเหล็ก เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องและมองเห็นการยุบตัวของคอนกรีตได้ชัดเจน เพื่อเป็ฯการตรวจสอบในระดับหนึ่งว่าเข็มมีความสมบรูณ์ตลอดความยาว

5. การถอนปลอกเหล็ก

การถอนปลอกเหล็กหรือ Casting ขึ้นนั้น จะทำการถอนขึ้นทีละ 1 ท่อน โดยขณะถอนนั้นต้องให้มีปูนอยู่ใน Casting ตลอด เพื้อป้องกันไม่ให้ดินรอบข้างบีบอัดตัวจนทำให้หัวเข็มเสียรูปทรง หรือกันน้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะ และเมื่อคอนกรีตยุบตัว จะต้องทเคอนกรีตตามลงไปเพื่อให้ได้ตามระดับที่ต้องการ โดยปกติหัวเสาเข็มเจาะ จะต้องเผื่อระยะไว้เพื่อสกัดคอนกรีตที่มีสิ่งสกปรกออกประมาณ 30 – 50 ซ.ม.

6. ทำเสาเข็มต้นต่อไป

การทำเสาเข็มเจาะต้นถัดไป ต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มเจาะต้นเดิม ไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม แต่หากเกิดกรณี่ที่มิสามารถหลีกเหลี่ยงได้ โดยต้องเจาะเสาเข็มโดยที่ระยะห่างไม่ถึง 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้น ควรทิ้งระยะเวลาให้เสาเข็มต้นที่เทปูนไปแล้วเซ็ตตัวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเมื่อทำงานเสร็จครบตามจำนวนต้นแล้ว ก็จะมีการทำความสะอาดพื้นที่เพื่อให้ทีมงานอื่น เข้ามาทำงานต่อได้อย่างราบรื่นไร้ปัญหา